สรุป

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นสองสมัย ได้แก่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์

สิ่งสำคัญที่สุดในการค้นหาข้อเท็จจริงในอดีต คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถ จำแนกตามความสำคัญของหลักฐานและจำแนกตามลักษณะของหลักฐาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลกทำให้ทราบถึงความรุ่งเรืองของดินแดนแต่ละแห่ง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน

จีน

ค.ศ.1368- ปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มต้นด้วยการสถาปนาราชวงศ์หมิง สมัยราชวงศ์ชิง การปฏิวัติประชาธิปไตยในค.ศ. 1911 และการปฏิวัติสังคมนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1949 หลังจากนั้นจึงเป็นสมัยปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนในช่วงเวลานี้ เช่น วรรณกรรม บันทึกการเดินทาง พจนานุกรม สนธิสัญญาระหว่างจีนกับชาติตะวันตก งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวต่างชาติและชาวจีน

1.งานวรรณกรรมของหลู่ ซุ่น หลู่ ซุน เป็นนามปากกาของโจว ชู่เหริน มีงานเขียนหลายรูปแบบด้วยกัน มีทั้งบทความ เรื่องสั้น เช่น บ้านเกิด และ เรื่องขงจื๊อกับสังคมยุคใหม่ของจีน เนื้อหาส่วนใหญ่สะท้อนปัญหาสังคมที่มีความอยุติธรรม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมที่ล้าหลัง ยึดถือการแบ่งชนชั้น และอื่นๆ วัตถุประสงค์ของการเขียนงานวรรณกรรมของ   หลู่ ซุน คือ การกระตุ้นให้สังคมจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อให้สังคมจีนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น

2.เอกสารแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระหว่างประมุข/ผู้นำรัฐบาลอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กัวลาลัมเปอร์ วันที่ 16 ธันวามคม ค.ศ. 1997 เป็นเอกสารบันทึกข้อแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนกับประธานาธิบดีเจียง   เจ๋อหมิน มีเนื้อหาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เอกสารฉบับนี้เป็นหลักฐานชั้นต้นที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศจีนกับกลุ่มอาเซียนในช่วงเวลาปัจจุบันได้

อินเดีย

ค.ศ.1526- ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เริ่มต้นด้วยการที่พวกมุคัลสถาปนาราชวงศ์มุคัล ใน ค.ศ. 1526 จนถึงสมัยอังกฤษปกครองอินเดีย และอินเดียได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1947 ส่วนสมัยปัจจุบันเริ่มตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราชมาจนถึงปัจจุบัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียในช่วงเวลานี้มีทั้งงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ชาวตะวันตกและชาวอินเดียเขียนขึ้น และเอกสารทางราชการของอังกฤษและอินเดีย

1.ประวัติของอักบาร์ เป็นพระราชประวัติของพระเจ้าอักร์บาร์มหาราช กษัตริย์องค์สำคัญของราชวงศ์มุคัล เรียบเรียงโดยอาบุล ฟาซัล ประวัติของอักบาร์แบ่งออกเป็น สามส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงการประสูติของอักบาร์ และยุคสมัยของจักรพรรดิบาบูร์ กับสมัย จักรพรรดิหุมายูน ส่วนที่สอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุคสมัยจักรพรรดิอักบาร์ และส่วนที่สาม เกี่ยวกับการบริหารปกครอง โดยบันทึกรายละเอียดทั้งด้านประชากร อุตสาหกรรม และสภาวะเศรษฐกิจของจักรวรรดิมุคัล

2.พระราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย  เนื้อหาของพระราชโองการฉบับนี้มีลักษณะเป็นคำสัญญาสำหรับชาวอินเดีย โดยกล่าวถึงการยกเลิกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ สิทธิของอังกฤษในอินเดียด้วยการป้องกันความยุติธรรมและกฎหมาย พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาในการปกครองที่มีประสิทธิภาพและยุติธรรม และให้ชาวอินเดียมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาหากไม่ขัดต่อกฎหมาย นอกจากนี้ อังกฤษได้ประกาศสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านอุตสาหกรรม การบริการสาธารณะ และ ผลประโยชน์ของชาวอินเดียโดยภาพรวมภายใต้การปกครองของอังกฤษ

ตะวันตก

ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ยุโรปได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และ วิทยาการต่างๆ สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม ปรัชญา ประชาธิปไตย และชาตินิยม หลักฐานทางประวัติศาสสตร์ตะวันตกสมัยใหม่และ สมัยปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ดังที่ใช้กันในปัจจุบัน นอกจากนี้เป็นเอกสารคำประกาศที่เกิดจากการปฏิวัติระบอบการปกครอง รัฐธรรมนูญ กฎบัตร เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา

  1. คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง เป็นเอกสารคำประกาศของคณะปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ.1789 หลังจากคณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัตโค่นล้มอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่16 และเตรียมร่างรัฐธรรมนูญขึ้นต่อมาสภาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ถือเป็นการสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์ในฝรั่งเศส เอกสารประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศสนั้นได้แนวทางเดียวกับประกาศแห่งสิทธิของอังกฤษ และคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ภายใต้กรอบความคิดเรื่อง เสรีภาพ ความเสมอภาค และ ภราดรภาพ ดังที่ปรากฏในคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ข้อแรกว่า มนุษย์เกิดมาพร้อม สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค เอกสารคำประกาศสิทธิมนุษย์ชนและพลเมืองเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูลทางด้านความคิด ภูมิปัญญาของฝรั่งเศสและยุโรปในยุคภมิธรรมช่วงคริสตร์ศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังให้ข้อมูลพื้นฐานความคิดที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศสในค.ศ.1789
  2. สนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 ยุติลงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.918 ด้วยการยอมจำนนของฝ่ายเยอรมนี ประเทศมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศอื่นได้จัดประชุมสันติภาพ ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส และได้ร่างสนธิสัญญาขึ้นมา 5 ฉบับ สำหรับชาติผู้แพ้สงครามได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี บัลแกเรีย ตุรกี สนธิสัญญาที่สำคัญที่สุด คือ สนธิสัญญาแวร์ซายที่ฝ่ายสัมพันธมิตรลงนามกับเยอรมนีในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 สนธิสัญญาแวร์ซายประกอบด้วยข้อบังคับซึ่งล้วนลดอำนาจและดินแดนของเยอรมนีไม่ให้ฟื้นตัวขึ้นอีก จึงเท่ากับเป็นการลงโทษพระเทศเยอรมนี

c4

การลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาย ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส

หลักฐานประวัติศาสตร์สมัยกลาง

จีน

ค.ศ.220-1368 ประวัติศาสตร์จีนช่วงเวลานี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการรับอิทธิพลอารยธรรมต่างชาติเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลพุทธศาสนา

1.งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชาง หลังจากงานประวัติศาสตร์สื่อจื้อของซือหม่าเซียนในราชวงศ์ฮั่นแล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ในทุกราชวงศ์ โดยจักรพรรดิราชวงศ์ใหม่ให้ราชบัณฑิตจัดทำของราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไป มีชื่อเรียกว่า เจิ้งสื่อ วัตถุประสงค์ในการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ คือ การบันทึกพฤติกรรมของชนชั้นปกครองเพื่อเป็นบทเรียนทางศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครองในราชวงศ์ปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ เช่น สื่อลู่ หรือ จดหมายประจำเหตุประจำรัชกาล บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่นักประวัติศาสตร์ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์จีน โดยใช้ร่วมกับหลักฐานประวัติศาสตร์จีนประเภท

2.หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนผ่านทางเส้นทางสายไหมในเอเชียกลาง หลังจากสมัยราชวงศ์ฮั่น พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายทั่วไปในสังคมจีน ตั้งแต่ราชวงศ์เว่ย์เหนือ ได้มีการขุดเจาะถ้ำและสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งด้านประติมากรรมและจิตรกรรมตามปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ถ้ำที่สำคัญได้แก่ ถ้ำหยุนกัง ถ้ำตุนหวง ถ้ำหลงเหมิน แหล่งโบราณคดีศิลปะถ้ำในพระพุทธศาสนาจัดเป็นแหล่งรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราฯคดี และประวัติศาสตร์ศิลปกรรมที่สำคัญ หลักฐานที่ค้นพบในถ้ำมีทั้งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พุทธประติมากรรมสมัยต่างๆ โดยเฉพาะที่ถ้ำหยุนกังและหลงเหมิน ส่วนภาพจิตรกรรมพบที่ ถ้ำตุนหวงมีสีสันงดงาม แสดงถึงเนื้อหาในคัมภีร์พระสูตรทางพุทธศาสนานิกายมหายานที่แพร่หลายในประเทศจีนและเอเชียกลาง

อินเดีย

ค.ศ. 535-1526 อินเดียสมัยกลางเป็นสมัยของการแตกแยกทางการเมืองและการรุกรานจากพวกมุสลิม จนสามารถตั้งอาณาจักรสุลต่านแห่งเดลี

1.หนังสือประวัติศาสตร์ของสุลต่านฟีรุส ชาห์ ตุคลุก เรียบเรียงโดย ซีอา อัล-ดิน บารนี ได้เรียบเรียงประวัติของสุลต่านฟีรุส ชาห์ ตุคลุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้สุลต่านแห่งเดลีทุกพระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ต่อศาสนาอิสลาม

2.งานวรรณกรรมของอะมีร์ คุสเรา อะมีร์ คุสเรา เป็นกวีเชื้อสายอินโด-เปอร์เซียนประจำราชสำนักสุลต่านแห่งเดลี โดยมีวัตถุประสงค์ถวายแด่สุลต่าน  แม้หลักฐานดังกล่าวจะเจือปนด้วยควาคิด อคติ และจินตนาการของผู้แต่ง แต่ก็ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ กรอบความคิดทางสังคม สภาพชีวิต และวัฒนธรรมของชาวอินเดียในสมัยสุลต่านเดลี

ตะวันตก

ยุโรปสมัยกลางเป็นสังคมภายใต้การครอบงำของคริสต์ศาสนาและระบบฟิวดัล ดังนั้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์มนสมัยกลางบันทึกด้วยภาษาลาติน ซึ่งใช้สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโรมัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีหลายประเภท เช่น บันทึกของโบสถ์ คัมภีร์ทางศาสนา วรรณกรรมสดุดีวีรกรรมของอัศวิน เอกสารของทางราชการ

1. มหากาพย์ชองซองเดอโรลองด์ เป็นวรรณกรรมสดุดีวีรกรรมของอัศวินของฝรั่งเศสในช่วงสมัยกลาง มหากาพย์เรื่องนี้มีต้นกำเนิดมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่8 เกิดสงครามในสเปนระหว่างจักรพรรดิชาร์เลอมาญกับกองทัพอาหรับ ความสำคัญของวรรณกรรมเรื่องมหากาพย์ชองซองเดอโรลองด์ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็คือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมในกรอบความคิดและโลกทัศน์ของคนยุโรปในช่วงสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบฟิวดัลและความศรัทธาในคริสต์ศาสนา

2.ทะเบียนราษฎร เป็นเอกสารการเมืองการปกครองอังกฤษที่พระเจ้าวิลเลี่ยมที่1 ทรงให้จัดทำขึ้น เอกาสารทะเบียนราษฎรได้รวบรวมข้อมูลประเทศอังกฤษในขณะนั้นเกือกทุกด้าน และใช้เป็นฐานข้อมูลในการเก็บภาษี เอกสารดังกล่าวจึงสามารถใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับขุนนางและข้าติดที่ดินของอังกฤษ นอกจากนี่ยังใช้ในการศึกษาการเมืองและสภาพเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษได้ในช่วงเวลานั้นได้อีกด้วย

3.หนังสือแห่งการเวลา มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่เรื่องปฏิทิน คำสวดมนต์ เพลงสวด และพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา ความสำคัญของหนังสือแห่งกาลเวลาในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือ เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ สมัยกลางในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิตของผู้คนในชนชั้นต่างๆ ตามระบบฟิวดัล ทั้งวิถีชีวิตของชนชั้นเจ้านาย เจ้าของที่ดิน และวิถีชีวิตของชาวนา ตลอดจนความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา หนังสือแห่งการเวลามีลักษณะพิเศษ คือเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยมือ และมีภาพวาดประกอบจำนวนมาก มีเนื้อหาทางศาสนาเป็นหลัก และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมร่วมสมัยอยู่ด้วย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

จีน

ราชวงศ์ชาง – ราชวงศ์อื่น

1.หลักฐานลายลักษณ์อักษรสมัยราชวงศ์ชาง  ปรากฏเป็น อักษรภาพจารึกตามกระดองเต่า กระดูกสัตว์ และภาชนะสำริดที่ใช้ในพิธีกรรม ผู้จารึกมักเป็นกษัตริย์และนักบวช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องสำคัญเกี่ยวกับชีวิต หลักฐานประวัติศาสตร์เหล่านี้ได้ให้ข้อมูลในด้านความเชื่อในธรรมชาติและความเชื่อโชคลางของชาวจีนในขณะนั้น

2.ลื่อจี้ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ เขียนโดยซือหม่าเชียน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคต้น ในด้านการเมืองการปกครอง เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง การพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ ศิลปะวัตนธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ซือหม่าเชียนเดินทางไปสำรวจตามท้องถิ่นต่างๆด้วยตัวเองและนำมาเขียนอย่างถูกต้อง จึงถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์จีน

3. สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี จักรพรรดิจิ๋นซีเป็นผู้รวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นและตั้งราชวงศ์ฉินขึ้น นอกจากน้พระองค์ยังเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน ผลงานที่สำคัญได้แก่ กำแพงงเมืองจีน พระราชวัง และสุสานของพระองค์ โบราณวัตถุที่ถูกค้นพบในสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีให้ข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในด้านการเมือง การปกครอง ของทหารในสมัยนั้น

อินเดีย

เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรอินเดียโบราณขึ้นใช้ – สิ้นราชวงศ์คุปตะ

1.ตำราอรรถศาสตร์ เขียนโดยพราหมณ์เกาฏิลยะ เป็นตำราที่สะท้อนภาพการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมในสมัยนั้น

2.คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ แต่งโดยพราหมณ์มนู เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็น 12 เล่ม

3.ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช คือ จารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชให้บันทึกเรื่องราวของพระองค์ โดยจารึกไว้ตามผนังถ้ำ ศิลาจารึกหลักเล็กๆ  จารึกบนเสาหินขนาดใหญ่ที่มีลักษณะทางศิลปกรรมที่งดงาม เสาหินที่มีชื่อเสียงมากคือ เสาหินที่มีหัวเสาเป็นรูปสิงห์หันหลังชนกัน ซึ่งรัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดียมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลักฐานศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ของอินเดียในด้านการเมือง การปกครองที่อาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของอินเดีย

ตะวันตก

ตะวันตกสมัยโบราณมีพัฒนาการอันยาวนานตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ มาจนถึง กรีกและโรมัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยโบราณมีปรากฎในรูปแบบตัวอักษรคูนิฟอร์มของเมโสโปเตเมีย อักษรไฮโรกลิฟิกของอารยธรรม อียิปต์ กรีก และ โรมัน ซึ่งอักษเหล่านี้มีปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น จารึก กฎหมาย คัมภีร์ทางศาสนา บึนทึกในงานศิลปะกรรรม ภาชนะดินเผา และโลหะ

1.ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี โดยพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งอาณาจักรบาบิโลเนีย โดยคัดลอกลงบนแผ่นดินเหนียวเผยแพร่ไปทั่วอาณาจักร บทลงโทษของกฎหมายค่อนข้างรุนแรงโดยยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน

2.บันทึกในสมัยอียิปต์โบราณ อักษรอียิปต์แบ่งได้เป็น สองประเภท คือ อักษรไฮโรกลิฟิก เป็นอักษรภาพ ส่วนมากใช้บันทึกเรื่องราวทางศาสนา นิยมสลักบนหิน เสา ผนัง หรือผนังหลุมผังศพ  และ อักษรไฮแรติก เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรไฮโรกลิฟิก นิยมบันทึกลงในกระดาษปาปิรัส  ความรู้ของชาวอียิปต์ในทุกด้านจะถูกบันทึกไว้บนกระดาษปาปิรัส โดยม้วนกระดาษดังกล่าวจะถูกเก็บรักษาไว้ในหลุมฝังศพของชาวโบราณ เช่น ตำราทางการแพทย์  ความรู้ด้านโหราศาสตร์และดาราศาสตร์

งานเขียนประวัติศาสตร์ของกรีกโรมัน  ชาวกรีกเป็นผู้วางรากฐานวิธีการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบตะวันตก โดยชาวกรีกมีความคิดทางประวัติศาสตร์ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น  เปลี่ยนแปลง หมุนเวียนกลับสู่กำเนิดเดิม นั่นคือ ประวัติศาสตร์ทางวัฏจักร ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการเรียนรู้ซึ่งเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน

ตัวอย่างหลักฐานงานเขียนประวัติศาสตร์กรีก

-ประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย

-ประวัติศาสตร์สงครามเพโลพอนนีเชียน ของทูซิดีดิส เป็นงานบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนส์กับนครรัฐสปาร์ตา

ตัวอย่างหลักฐานงานเขียนประวัติศาสตร์โรมัน

-บันทึกสงครามกอล ผลงานของจูเลียส ซีซาร์ เป็นบันทึกเรื่องราวการทำสงครามในแคว้นโกล

-เยอร์มาเนีย ผลงานของแทกซิตัส เป็นบันทึกเรื่องราวของชนเผ่าเยอรมัน ถือเป็นผลงานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสงครามและชนเผ่าเยอรมันสมัยโรมัน

ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

ภาพวาดบนกระดาษปาปิรุส

c3

หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จีน

1.โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง ยุคหินเก่า พบที่ถ้ำโจวโข่วเตี้ยน

2.เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหยางเชา และวัฒนธรรมหลงชาน เป็นของมนุษย์ยุคใหม่ วัฒนธรรมหยางเชาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหวางเหอ พบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี วัฒนธรรมหลงชาน อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหวางเหอ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เลียบชายฝั่งทะเลลงมาถึงลุ่มแม่น้ำฉางเจียง นิยมทำภาชนะ 3 ขา

อินเดีย

1.เมืองโบราณโมเฮนโจดาโร และ ฮารัปปา เป็นแหล่งหลักฐานทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หลักฐานที่พบมีทั้งมีทั้งหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุ  แหล่งหลักฐานเมืองโบราณโมเฮนโจดาโรและฮารัปปา ก่อสร้างโดยชาวดราวิเดียน หลักฐานที่พบให้ข้อมูลในหลายๆด้านเกี่ยวกับแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

2.คัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน เมื่อชาวอารยันอพยพเข้ามาในเขตภาคเหนือของอินเดีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้สินสุดหลง เกิดอารยธรรมใหม่ของชาวอารยันเรียกว่า อารยธรรมพระเวท หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในช่วงเวลานี้คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของชาวอารยัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวอารยันในสมัยแรกเริ่มที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดียในช่วงเวลานี้ คัมภีร์พระเวทประกอบไปด้วย คัมภีร์ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และ อาถรรพเวท ใช้วิธีการบอกเล่าสืบต่อกันมา ยังไม่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เนื้อหาของคัมภีร์พระเวท แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา แต่ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง และสังคมวัฒนธรรมในช่วงเวลานี้ด้วย คัมภีร์พระเวทยังเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์อื่นๆของชาวอารยันในเวลาต่อมา

ตะวันตก

1.โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทำให้เห็นวิวัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละสมัย นอกจากนี้สิ่งของเครื่องใช้ที่ฝังรวมไว้กับศพช่วยให้รู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์สมัยนั้นๆ

2.ศิลปะถ้ำ ช่วยให้รู้ว่ามนุษย์ล่าสัตว์อะไร หรือเลี้ยงสัตว์อะไรไว้บ้าง หรือในบริเวณนั้นมีสัตว์อะไรอยู่มาก

3.สโตนเฮนจ์   เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ที่นำมาตั้งเรียงเป็นรูปวงกลม บางแท่งวางพาดข้างบนในแนวนอน แสดงให้เห็นความสามารถด้านสถาปัตยกรรมของมนุษย์ยุคหินใหม่

ตัวอย่างหลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์

c1

รูปสลักผู้ชายมีเคราที่เมืองโมเฮนโจดาโร

c2

กะโหลกมนุษย์นีแอนเดอร์ทอล ซ้ายเทียบกับ กะโหลกมนุษย์ยุคปัจจุบัน

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

จำแนกตามความสำคัญของหลักฐาน

1.หลักฐานชั้นต้น  คือ หลักฐานที่บันทึกโดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น

2.หลักฐานชั้นรอง  คือ  หลักฐานที่ผู้บันทึกได้รับรู้เหตุการณ์จากการสื่อสารของบุคคลอื่นมาอีกทอดหนึ่ง รวมทั้งงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นก็ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นรองด้วยเช่นกัน

จำแนกตามลักษณะของหลักฐาน

1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น จารึก ตำนาน  บันทึกความทรงจำ

2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี เช่น รูปเคารพ มหาวิหาร โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยจากพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกคำบอกเล่า จารึก เอกสารราชการ โบราณสถาน โบราณวัตถุ หลักฐานต่างๆ สามารถบอกเรื่องราวได้แตกต่างกันในแง่มุมต่างๆ

1.2.2 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันตก

นักประวัติศาสตร์ตะวันตกแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ตะวันตกเป็น 4 ยุคสมัย ได้แก่
1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 476) รากฐานของอารยธรรมตะวันตกเริ่มต้นในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส อารยธรรมสมัยนี้ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารายธรรมกรีก และอารยธรรมโรมัน
สมัยโบราณในประวัติศาสตร์ตะวันตก เริ่มต้นเมื่อ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอินเดียซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนถึง ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยโบราณ

Pictureส

2.ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. 476-ค.ศ. 1453) ช่วงเวลา สมัยกลาง เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารยธรรมตะวันตกจากอารยธรรมโรมันไปสู่อารยธรรมคริสต์ศาสนาเป็นสมัยที่ตะวันตกได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศริสต์ศาสนา ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม
นอกจากนี้สังคมสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมในระบบฟิวดัล (Feudalism) ที่ขุนนางแคว้นต่างๆ มีอำนาจครอบครองพื้นที่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะเป็นข้าติดที่ดิน (Serf) และดำรงชีวิตอยู่ในเขตแมเนอร์ (manor) ของขุนนาง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของสังคมสมัยกลางนอกจากนี้ประวัติศาสตร์สมัยกลางยังเป็นสมัยที่ศริสต์ศาสนาขัดแย้งกับศาสนาอิสลามจนเกิดสงครามครูเสด (Crudades ค.ศ. 1096-1291) เป็นเวลาราว 200 ปี เป็นผลให้เกิดการค้นหาเส้นทางการค้าทางทะเลและวิทยาการด้านอื่นๆ

ฟฟฟฟ

3.ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1453-1945) เป็นสมัยของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการของอารยธรรมตะวันตก ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อารยธรรมสมัยใหม่เป็นรากฐานที่สำคัญของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน และช่วงเวลานี้ชาวยุโรปได้แผ่อิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆ

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เป็นช่วงที่มีการสำรวจเส้นทางเดินเรือทะเล เพื่อการค้ากับโลกตะวันออกและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา เริ่มตั้งแต่สมันฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance คริสต์ศตวรรษที่ 15-17) ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่ความเจริญทางวิทยาการต่างๆ เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว เข้าไปสู่ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Age of Scientific Revolution คริสต์ศตวรรษที่ 16-18) ยุคภูมิธรรมหรือยุคแห่งการรู้แจ้ง  (Age of Enlightenment คริสต์ศตวรรษที่ 17-18) สมัยประชาธิปไตย (Age of Democracy คริสต์ศตวรรษที่ 17-19)

สมัยชาตินิยม (Nationalism ค.ศ. 1789-1918) สมัยจักรวรรดินิยมใหม่ (New Imperialism ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19-สงครามโลกครั้งที่ 2) และสมัยสงครามโลก (World War ค.ศ. 1914-1945) การแผ่ขยายอำนาจของยุโรปในสมัยใหม่ทำให้เกิดความขัดแย้งก่อให้เกิดสงคราโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่สิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1945 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง

ฟฟ

4.ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ.1945-ปัจจุบัน)สมัยปัจจุบันเป็นช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่งโลก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองต่อสังคมโลกในปัจจุบัน

งง

1.2.1 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันออก

ในการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันออกจัดแบ่งไปตามภูมิภาคต่างๆ เนื่องจากประวัติศาสตร์อารยธรรมของแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีการจัดหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยต่อไปนี้

  1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน  แนวความคิดในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนใช้พัฒนาการทางอารยธรรมและช่วงเวลาที่ราชวงศ์ต่างๆ มีอำนาจในการปกครอง เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน ซึ่งสามารถแบ่งยุคสมัยออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (1570 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง(ค.ศ. 220 – 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่(ค.ศ.1368 -1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911-ปัจจุบัน)

ช่วงเวลาของการเริ่มต้นรากฐานของอารยธรรมจีนเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเชา (Yangshao Culture) วัฒนธรรมหลงซาน (Longshan Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริด

1)  ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ เริ่มในสมัยราชวงศ์ซาง (Shang Dynasty ประมาณ 1,570 – 1,045 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นช่วงเวลาที่จีนก่อตัวเป็นรัฐและมีการวางรากฐานด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ในสมัยนี้มีการใช้ตัวอักษรจีนโบราณเขียนลงบนกระดองเต่าหลังจากนั้นเป็นช่วงสมัยราชวงศ์โจว (Chou Dynasty ประมาณ 1,045 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยนี้นักประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นสมัยย่อย ได้แก่ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวังออก เมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่างๆ ในที่สุด รัฐฉินได้รวบรวมประเทศก่อตั้งราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty 221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty 202ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.220) เป็นสมัยที่มีการรวมศูนย์อำนาจอย่างชัดเจนเป็นจักรวรรดิ โดยระบอบดังกล่าวใช้อยู่ในประเทศจีนนานกว่า 2,000 ปี

Picture1

2) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง เป็นช่วงเวลาของการปรับตัวของอารยธรรมจีนในการรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานกับอารยธรรมจีน ที่สำคัญ คือ พระพุทธศาสนา

ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มต้นสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่า สมัยแตกแยกการเมือง (ค.ศ. 220 – 589) เป็นช่วงเวลาที่ชาวต่างชาติเข้ามายึดครองดินแดนจีน และมีการแบ่งแยกดินแดนก่อนที่จะรวมประเทศได้ในสมัยราชวงศ์สุย (Sui Dynasty ค.ศ. 581-618) และสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty ค.ศ. 618 – 907) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด แต่เมื่อสมัยราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงก็เกิดความแตกแยกอีกครั้งในสมัยที่เรียกว่า ห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – 979)

Picture2  Picture3ห ;;

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (Sung Dynasty ค.ศ. 960 – 1279) สามารถรวมประเทศจีนได้อีกครั้ง ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาของความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (Yuan Dynasty ค.ศ. 1260 – 1368)

3)ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ เริ่มต้นยุคสมัยใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนได้ขับไล่พวกมองโกลออกไปแล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty ค.ศ. 1368-1644) ขึ้นปกครองจีนหลังจากนั้นราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty ค.ศ. 1644-1911) ของพวกแมนจูโค่นล้มราชวงศ์หมิงสมัยนี้จีนได้รับยกย่องว่าประสบความสำเร็จเกือบทุกด้าน นักวิชาการบางท่านถือว่าประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มต้นเมื่อครั้งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644)

ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงเป็นช่วงเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตก และจีนแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839-1842) ราชวงศ์ชิงสิ้นสุดใน พ.ศ.1911

ฟ Picture3ๆ

4)ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน  เริ่มต้นในค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1911-1949) โดย ดร.ซุน ยัตเซน (Sun Yat-sen ค.ศ. 1866-1925) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีน จึงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ ค.ศ.1949 จนถึงปัจจุบัน

Picture1

  1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดียใช้หลักเกณฑ์พัฒนาการของอารยธรรมอินเดียและเหตุการณ์สำคัญเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียจึงแบ่งยุคสมัยออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ โดยแต่ละยุคสมัยจะมีการแบ่งยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือชนกลุ่มต่างๆที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียในขณะนั้น

Picture2   ฟ

ช่วงเวลาการวางพื้นฐานของอารยธรรมอินเดียเริ่มตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุของพวกดราวิเดียนเมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาของการเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการคิดค้นและก่อตั้งศาสนาต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า สมัยพระเวท (1,500-900 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

1)ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ เริ่มต้นในสมัยมหากาพย์ (Epic Age 900-6— ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งมีการใช้ตัวอักษรอินเดียโบราณในการบันทึกเรื่องราว ต่อมาอินเดียมีการรวมตัวกันครั้งแรกในสมัยราชวงศ์มคธ (Kingdom of Magadha 600-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการร่วมตัวกันอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (Maurya Dynasty 322-184 ปีก่อนคริสต์ศักราช )

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่อินเดียเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเมารยะล่มสลาย อินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งความแตกแยกและการรุกรานจากภายนอกทั้งจากพวกกรีกและพวกกุษาณะช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นสมัยของการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะมีการร่วมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (Kupta Dynasty ค.ศ. 320-535) สมัยนี้พระพุทธศาสนาเสื่อมความนิยมลงในขณะที่ศาสนาพราหมณ์ฮินดูเจริญรุ่งเรืองขึ้น

2)ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง การสิ้นสุดของสมัยคุปตะใน ค.ศ. 535 ถือเป็นการสิ้นสุดของสมัยโบราณ อินเดียได้ย่างเข้าสู่สมัยกลาง (ค.ศ. 535-1526) ซึ่งสมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมืองและการรุกรานจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมุสลิม สมัยกลางสามารถแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535-1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลี (ค.ศ. 1200-1526)หฟ

3)ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ เมื่ออาณาจักรสุลต่านแห่งเดลีล่มสลายลงใน ค.ศ. 1526 พวกมุคัลได้ตั้งราชวงศ์มุคัลถือเป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่ของประวัติศาสตร์อินเดีย ช่วงเวลานี้เรียกว่า สมัยจักรวรรดิมุคัล (Mughal Empire ค.ศ. 1526-1858) จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1858 แบะปกครองต่อมาจนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ อินเดียจึงเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน

ฟฟฟ ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมต่างชาติอันได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย และวัฒนธรรมทางตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะเดียวกันชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองขึ้นพร้อมกับเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดียจนกระทั่งปัจจุบัน ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์มุคัล และสมัยอังกฤษปกครองอินเดีย(ค.ศ.1858-1947)

ผผ

4)ประวัติศาสตร์อินเดียปัจจุบัน คือภายหลังได้รับเอกราชและการถูกแบ่งแยกออกเป็นประเทศต่างๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ

อย่างไรก็ตาม การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์โดยใช้หลักเกณฑ์พัฒนาของอารยธรรมอินเดีย สามารถรวมสมัยสุลต่านแห่งเดลีเข้ากับสมัยราชวงศ์มุคัลซึ่งเป็นสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้าไปมีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียโดยเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200-1858)

1.2 สมัยประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมนั้นรู้จักเขียน มีตัวอักษรสำหรับใช้จดบันทึก ทำให้ชนรุ่นหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ในอดีตได้ ทั้งนี้แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน

  การศึกษาประวัติศาสตร์สากลมีความแตกต่างกันระหว่างการศึกษาประวัติศาสตร์ตะวันออกกับประวัติศาสตร์ตะวันตก โดยประวัติศาสตร์ตะวันออกแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ เช่น ประวัติศาสตร์จีน ใช้เกณฑ์ช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ในการแบ่งยุคสมัย ขณะที่ประวัติศาสตร์ตะวันตกใช้เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย